เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายบลูทูธ / Bluetooth Technology |
สวัสดีครับ ผมอยากให้ท่านศึกษาพื้นฐานของ เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายบลูทูธก่อนที่ท่านจะตัดสินใจเลือกว่า |
จะเลือกใช้ระบบใดระหว่าง WiFi / Blutooth / Cable หากคิดว่าจะเลือกใช้ Bluetooth แล้วจะเลือกตัวไหนที่เพียงพอ |
กับความต้องการของท่าน หากท่านมีความรู้เรื่อง Blutooth ก็สามารถข้ามส่วนนี้ไปศึกษาส่วนอื่นต่อได้เลยครับ. |
บลูทูธ คือ เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะใกล้แบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล(wireless personal area networks: WPAN) |
เป็นมาตรฐานที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายขนาดเล็ก เช่น เครื่องพีดีเอ (personal digital assistant:PDA) |
อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาหรือเคลื่อนที่รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ปลายทางที่ให้บริการ |
อุปกรณ์บลูทูธแต่ละตัวจะมีแอดเดรส (Address) หรือการระบุตำแหน่ง ซึ่งเป็นรหัสประจำตัวที่ไม่ซ้ำกับอุปกรณ์ตัวอื่น |
มีความยาวขนาด ๔๘ บิต เรียกว่า บีดี แอดเดอ (BD_ADDR) ใช้ในการจำแนกอุปกรณ์แต่ละตัวและใช้ในการระบุความถี่ที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ตัวนั้นๆ ด้วย |
หลักการพื้นฐานของบลูทูธ เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายบลูทูธ ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ |
ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน เนื่องจากไม่จำกัดพื้นที่ มิต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นสายสัญญาณ สามารถเชื่อมต่อได้ไกล เช่น |
การส่งข้อมูลจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องหนึ่งไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่อีกเครื่องหนึ่ง หากส่งผ่านสายสัญญาณ |
จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อทำให้อุปกรณ์ทั้งสองเชื่อมต่อกันได้ แต่เทคโนโลยีบลูทูธ |
ช่วยให้การส่งข้อมูลของอุปกรณ์ทั้งสองสะดวกขึ้นโดยการส่งผ่านคลื่นวิทยุ |
ความถี่คลื่นวิทยุ ความถี่มาตรฐานสำหรับเทคโนโลยีบลูทูธประมาณ 2.4 2.483 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) |
ซึ่งช่วงความถี่ที่ใช้งานอาจแตกต่างกันบ้างในบางประเทศ เนื่องจากความถี่ที่ใช้สำหรับบลูทูธ เป็นความถี่สาธารณะ (Unlicensed frequency) |
ไม่ต้องขออนุญาตการใช้งานความถี่ดังกล่าวจากหน่วยงานกำหนดหรือจัดสรรความถี่ของประเทศนั้นๆ ทำให้การใช้งานความถี่นี้แออัด |
อาจถูกรบกวนจากสิ่งต่าง ๆ เช่น คลื่นสัญญาณรบกวนจากเครือข่าย ที่อยู่ใกล้กันได้ง่าย |
ดังนั้นประสิทธิภาพของการใช้งานบลูทูธจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์ จำนวนหรือความหนาแน่นของการใช้งานด้วย |
ระยะเชื่อมต่อของบลูทูธ อุปกรณ์บลูทูธถูกแบ่งออกเป็นสามระดับ ตามความสามารถในการส่งข้อมูล ดังนี้ |
ระดับหนึ่ง (Class 1) สามารถรับส่งข้อมูลในรัศมี 100 เมตร ใช้พลังงานประมาณ 100 มิลลิวัตต์ |
ระดับสอง (Class 2) สามารถรับส่งข้อมูลในรัศมี 10 เมตร ใช้พลังงานประมาณ 2.5 มิลลิวัตต์ |
ระดับสาม (Class 3) สามารถรับส่งข้อมูลในรัศมี 1 เมตร ใช้พลังงานประมาณ 1.0 มิลลิวัตต์ |
มาตรฐานของบลูทูธ เทคโนโลยีบลูทูธได้กำหนดมาตรฐานหรือรุ่นของระบบการทำงานโดยได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ ดังนี้ |
1. บลูทูธ 1.0 และบลูทูธ 1.0B :เป็นบลูทูธรุ่นแรกซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) แต่ยังคงมีปัญหาอยู่มาก |
2. บลูทูธ 1.1 :ได้รับการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) โดยได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากบลูทูธรุ่นก่อนทำให้บลูทูทรุ่นนี้ทำงานได้ดีขึ้น |
ใช้มาตรฐาน IEEE Standard 802.15.1 รองรับช่องสัญญาณที่ไม่มีการเข้ารหัส และมีเครื่องมือบอกระดับความแรงของสัญญาณด้วย |
3. บลูทูธ 1.2 :ได้รับการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สามารถทำงานร่วมกับบลูทูธ 1.1 ได้ |
ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของบลูทูธรุ่นนี้ได้แก่ การค้นหาสัญญาณและการเชื่อมต่อที่เร็วขึ้น ปรับปรุงความสามารถในการส่งข้อมูลโดยลดสัญญาณรบกวน |
นอกจากนี้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูล ระบบก็จะส่งข้อมูลนั้นใหม่อีกครั้ง |
4. บลูทูธ 2.0 + EDR :บลูทูธรุ่นนี้สามารถทำงานร่วมกับบลูทูธ 1.1 ได้เช่นกัน ถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) |
คุณสมบัติสำคัญเน้นในเรื่องของความเร็วในการรับ ส่งข้อมูล ซึ่งสามารถส่งข้อมูล |
ได้เร็วถึง 2.1 เมกกะบิตต่อวินาที ด้วยความเร็วสูงสุดของช่องสัญญาณ 3.0 เมกกะบิตต่อวินาที |
|
แหล่งที่มา :สารานุกรมโทรคมนาคมไทย (Thai Telecommunications Encyclopedia) |
http://thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Bluetooth_Technology/index.php |